Hypochlorous Acid - Review

Last updated: 15 ธ.ค. 2563  |  750 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Hypochlorous Acid - Review

การใช้งานในบทบทการเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

สำหรับการใช้งานในการฆ่าเชื้อโรค กรดไฮโปคลอรัสเปลี่ยนโครงสร้างโปรตีนของเชื้อโรค จึงทำให้มันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน EPA (หน่วยงานควบคุมน้ำยาฆ่าเชื้อ USA) ได้แนะนำน้ำยาฆ่าเชื้ออยู่หลากหลายชนิดที่สามารถใช้กับ COVID-19 ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึงกรดไฮโปคลอรัสด้วยเช่นกัน

Hypochlorous Acid

ถือเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อในอุดมคติ เนื่องจากว่าส่วนประกอบของมันไม่ได้มีสารเคมีที่เป็นอันตราย, มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคหลากหลายรูปแบบ และราคาที่ไม่สูง

ผลิต Hypochlorous Acid อย่างไร?

โดยหลักการแล้วส่วนผสมจะมีเพียงแค่ 3 อย่าง 1.น้ำ 2.เกลือบริสุทธิ์(ไม่มีไอโอดีน) 3.น้ำส้มสายชู โดยนำทุกอย่างมาผสมกันในปริมาณที่พอเหมาะ และผ่านกระบวนการ Electrolysis โดยเครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพียงแค่นี้ก็สามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสารฟอกขาวถึง 80-100 เท่าออกมาได้แล้ว

Hypochlorous Acid มีวันหมดอายุไหม?

มีวันหมดอายุ โดยหลักๆจะมีปัจจัยมาจากรังสี UV จากแสงอาทิตย์ โดยถ้าหากว่าเก็บน้ำยาไว้ให้ห่างจากแสงอาทิตย์ได้ ตัวน้ำยาฆ่าเชื้อ Force Of Nature จะสามารถมีอายุได้อย่างน้อย 14 วัน

Fact ของสารคัดหลั่งที่ฟุ้งในห้องผ่าตัดและห้องหมอฟัน

การทำงานของหมอฟันและหมอผ่าตัดในห้องทำการจะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีละอองของสารคัดหลั่งของคนไข้ที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศได้ ละอองในที่นี้หมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 50 ไมโครมิเตอร์ ในเส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งอนุภาคที่เล็กขนาดนี้จะสามารถอยู่ในอากาศได้ยาวนานกว่า 30 นาที หลังจากที่เริ่มเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ

อนุภาคที่มีขนาด 2.5 ถึง 10 ไมโครมิเตอร์จัดเป็นอนุภาคหยาบ, อนุภาคเล็กอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง น้อยกว่า 2.5 ไมโครมิเตอร์ และอนุภาคที่เล็กมากจัดอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า 0.1 ไมโครมิเตอร์ โดยจมูกของมนุษย์โดยปกติจะกรองไม่ให้อนุภาคที่มีขนาดมากกว่า 10 ไมโครมิเตอร์เข้าสู่ร่างกาย ถ้าหากว่าอนุภาคมีขนาดน้อยกว่า 10 ไมโครมิเตอร์ จะสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ ,หากว่าอนุภาคมีขนาดน้อยกว่า 2.5 ไมโครมิเตอร์ มันสามารถเข้าไปยังถุงลมได้, หากว่าอนุภาคมีขนาดน้อยกว่า 0.1 ไมโครมิเตอร์ อย่าง Covid 19 จะสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้หรือจะสามารถพุ่งเป้าไปยังปอดของเราได้

สามารถอ่านบทความได้ที่https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7315945/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้