Last updated: 24 ธ.ค. 2563 | 1311 จำนวนผู้เข้าชม |
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน ได้มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A อยู่เรื่อย ๆ บ้างก็ระบาดเยอะในหมู่เด็กเล็กจนถึงขั้นต้องปิดโรงเรียน บ้างก็มาแค่ตามฤดูกาล เราไปรู้จักกับโรคนี้ไปพร้อม ๆ กันนะครับ
อาการ : ปวดศรีษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอแห้งๆ คัดจมูกน้ำมูกไหล คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยหอบ
ช่วงอายุที่พบมาก : วัยเด็กเล็ก และ วัยอนุบาล
ติดได้ทาง : ทางตรง คือ การแพร่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เกิดขึ้นได้ง่าย เกิดจากการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายในระยะ 1 เมตร
ทางอ้อม คือ การใช้ของร่วมกับผู้อื่น หรือ การสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ และนำมาสัมผัสต่อกับร่างกาย ซึ่งเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทาง ตา ปาก จมูก โดยผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 ถึง 3 วันแรก และระยะการแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน
ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่ และ ไข้หวัดทั่วไป :
ไข้หวัดทั่วไปจะไม่ค่อยมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนมากนัก แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีโอกาสที่จะมีภาวะแทรกซ้อนได้เยอะ ยิ่งเฉพาะกับคนที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น คนเป็นโรคเบาหวาน, ผู้สูงอายุ, เด็กเล็ก, โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด
วิธีรักษา : หากมีอาการรุนแรงให้ทำการพบแพทย์ โดยมากแพทย์จะวินิจฉัยและให้ตัวยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาชนิดรับประทาน ซึ่งจะเห็นผลดีที่สุดหากว่าได้รับยาหลังจากที่เริ่มมีอาการป่วย ภายใน 48 ชั่วโมง
หากไม่มีอาการรุนแรง แพทย์จะรักษาตามอาการ และเน้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาด นอนหลับให้เพียงพอ
การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ :
ไม่คลุกคลีหรือใช้ของร่วมกับผู้อื่น
ใส่ Mask
ควรขอหยุดลางานหรือหยุดเรียน เพื่อไม่ให้บุคคลรอบข้างเสี่ยง ทำให้ช่วยลดการระบาดได้ อีกทั้งยังทำให้มีเวลาพักผ่อนเพื่อทำให้ร่างกายฟิ้นฟูได้ดีอีกด้วย
อ้างอิง :
https://www.bth.co.th/th/news-health-th/234-health-news-child-th/908-what-is-influenza_908.html
19 ส.ค. 2563
5 ก.ค. 2564
21 เม.ย 2564
13 พ.ค. 2564