Last updated: 2 มี.ค. 2564 | 1388 จำนวนผู้เข้าชม |
RSV คืออะไร ?
ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus คือไวรัสที่จัดเป็นชนิดที่มีเปลือกหุ้ม โดยจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธ์ คือ RSV-A และ RSV-B โดยเชื้อไวรัส RSV เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคระบบทางเดินหายใจที่มีการระบาดอย่างหนักของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก ในทุกๆปีจะมีผู้เข้ารับการรักษากว่า 3,000,000 ครั้ง และมีเด็กที่เสียชีวิตกว่า 60,000 - 200,000 คน โดยในประเทศไทย ฤดูที่ระบาดหนักจะอยู่ในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือน กรกฏาคม-ตุลาคม ของทุกปี
ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ในการฟักตัว ?
ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแล้วจะมีการแพร่กระจายเชื้อได้ในเวลา 2-8 วัน และมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 4-6 วัน
อาการ ?
โดยในช่วง 1-2 วันแรก จะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น จาม ไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก โดยเมื่อมีอาการหนักมากขึ้นก็จะส่งผลทำให้ทางเดินหายใจช่วงล่างอักเสบ, หลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบตามมาได้ โดยจะมีอาการที่รุนแรงมาก ในเด็กช่วงอายุต่ำกว่า 1-2 ปี เนื่องจากเด็กยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง รวมถึงเด็กที่คลอดก่อนกำหนด, โรคหัวใจ และ โรคปอดเรื้อรัง เป็นต้น
ติดต่อจากอะไร และ ผู้ใหญ่สามารถติดได้หรือไม่ ?
ติดต่อจากการหายใจนำเอาละอองเสมหะ(สารคัดหลั่ง)ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV ไม่ว่าจะเป็น น้ำลาย น้ำมูก ฯลฯ โดยอาจจะเป็นไปได้ทั้งได้ได้รับสารคัดหลั่งโดยตรงหรือไปสัมผัสสิ่งของหรือของใช้ของผู้ป่วยที่มีสารคัดหลั่งติดอยู่แล้วนำเข้ามาในร่างกาย
ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อ RSV ได้เช่นกัน แต่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันที่ดีแล้ว
วินิจฉัยอย่างไร ?
อาศัยอาการและอาการแสดงเป็นหลัก โดจะมีการซักประวัติการป่วยและตรวจร่างกาย โดยอาจจำเป็นต้องมีการ X-Ray ปอดเพื่อให้ได้ภาพรังสีปอดหากสงสัยว่ามีหลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม การวินิจฉัย RSV เบื้องต้นสามารถทำได้โดยการเก็บตัวอย่างจากเยื่อบุทางเดินหายใจส่งตรวจ Nasal Swab โดยใช้ระยะเวลาในการตรวจเพียง 30 นาที
รักษาอย่างไร ?
การรักษาของเด็กที่ติดเชื้อ RSV จะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ถ้ามีไข้ ให้น้ำเกลือถ้ารับประทานอาหารไม่ได้ หรือถ้าหายใจเร็ว,หอบ อาจต้องให้ออกซิเจน
ป้องกันอย่างไร ?
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคได้ วิธีการรับมือที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้เบื้องต้นคือ
- หมั่นล้างมือเด็กอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงผู้ปกครองด้วย
- แยกสิ่งของและของใช้ของผู้ป่วยออก
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
13 พ.ค. 2564
14 ก.ค. 2563
15 ก.ค. 2563
21 พ.ค. 2564